ก่อนที่จะเข้ารับการตรวจรักษาทุกครั้ง คนไข้จะต้องถูกคัดกรองเบื้องต้นด้วยการวัดค่าต่าง ๆ ของร่างกาย ค่าเหล่านี้ทางการแพทย์เรียกว่าค่าสัญญาณชีพ หรือ Vital sign สัญญาณชีพคืออะไร มีอะไรบ้าง และบอกอะไรเกี่ยวกับร่างกายของเรา มาทำความเข้าใจกัน
อ่านตามหัวข้อ
สัญญาณชีพเป็นค่าที่บอกสภาพการทำงานของระบบในร่างกาย ประกอบไปด้วย 4 ค่าด้วยกัน ได้แก่ อุณหภูมิ ความดันโลหิต ชีพจร และจำนวนครั้งการหายใจ
อุณหภูมิ (Temperature)
โดยทั่วไปร่างกายคนเราอุณหภูมิเฉลี่ยที่ 37 องศาเซลเซียส ถ้าเกิน 37.5 ถือว่ามีไข้ การวัดใช้เครื่องมือที่เรียกว่าเทอร์โมมิเตอร์ โดยนิยมวัดทางปาก หรือรักแร้
ความดันโลหิต (Blood Pressure)
คือแรงที่หัวใจใช้สูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ประกอบไปด้วย ค่าความดันตัวบน (ค่าความดันสูงสุดขณะที่หัวใจห้องล่างบีบตัว) โดยทั่วไปไม่เกิน 120 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันตัวล่าง (ค่าความดันต่ำสุดขณะที่หัวใจห้องล่างคลายตัว) โดยทั่วไปไม่เกิน 80 มิลลิเมตรปรอท สำหรับผู้ใหญ่ปกติ
ชีพจร (Pulse)
หรืออัตราการเต้นของหัวใจ ค่าอยู่ที่ 60 – 100 ครั้งต่อนาที สำหรับบุคคลทั่วไป
การหายใจ (Respiratory)
โดยทั่วไปอยู่ที่ 12 – 20 ครั้งต่อนาที สำหรับผู้ใหญ่ปกติ
นอกจากนี้อาจมีการตรวจวัดสัญญาณชีพอื่นเพิ่มเติม เพื่อประกอบการวินิจฉัยให้มีความแม่นยำยิ่งขึ้น เช่น การวัดปริมาณฮีโมโกลบินที่จับตัวอยู่กับออกซิเจนในเลือดด้วยเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว เพื่อติดตามภาวะเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งผลกระทบต่อความสามารถในการลำเลียงออกซิเจนในเลือดของร่างกาย เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าการทราบถึงสถานะของสัญญาณชีพเป็นประโยชน์ให้กับบุคลากรทางการแพทย์ให้สามารถวินิจฉัยและทำการรักษาได้อย่างเหมาะสมแม่นยำ ในความจริงแล้วค่าสัญญาณชีพไม่ได้คงที่ตลอดเวลา สามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามช่วงอายุ ลักษณะท่าทาง หรือกิจกรรมที่ทำขณะวัด ซึ่ง H LAB ได้พัฒนา embedded-algorithm ใน Vital Sign monitoring feature ใน CORTEX ER ซึ่งเป็น platform การบริหารจัดการงานเวชศาสตร์ฉุกเฉินที่สามารถตรวจวัดสัญญาณชีพของคนไข้ที่นอนพักรักษาและแสดงผลใน dashboard ได้แบบ real time รวมถึงนำข้อมูลสัญญาณชีพที่วัดได้ไปประมวลผลด้วย rule-based MEWS criteria ที่มีการตกลงร่วมกับแพทย์ เพื่อพิจารณาแนวโน้มความเสี่ยงในการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ (adverse event) ได้ล่วงหน้า ช่วยบุคลากรทางการแพทย์ลดเวลาในการตัดสินใจ เพิ่มความแม่นยำในการวิเคราะห์สภาพร่างกาย และแนะนำขั้นตอนการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ที่สุดต่อไปด้วย
ทั้งนี้การวัดสัญญาณชีพเพื่อประกอบการวินิจฉัยของแพทย์จำเป็นที่จะต้องตรวจวัดด้วยอุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากองค์กรอาหารและยา ในปัจจุบันการวัดสัญญาณชีพด้วยเครื่อง ECG หรือ smartphone หรือ smartwatch ไม่สามารถนำมาเป็นหลักฐานประกอบการรักษาได้
Comments