top of page
PROCESS IMPROVEMENT

การให้บริการ Lab CT Scan ในโรงพยาบาล

โรงพยาบาลจำนวนมากประสบกับปัญหาที่คนไข้ต้องรอคิวให้บริการนานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการตรวจที่ต้องใช้เวลาในการตรวจ วิเคราะห์ และอ่านผล เช่น การอัลตราซาวด์ 

การทำ CT Scan คนไข้ต้องรอใช้บริการตรวจเหล่านี้ ไม่ใช่เพียงเป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์

แต่ต้องรอถึงเป็นเดือน เนื่องจากทรัพยากรดังกล่าวมีราคาสูง อีกทั้งต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้งาน จึงจะสามารถใช้และวิเคราะห์ผลได้

Role / 

System Designer

 

Agency / 

H Lab

 

Year / 

2013

โรงพยาบาลจำนวนมากประสบกับปัญหาที่คนไข้ต้องรอคิวให้บริการนานมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการตรวจที่ต้องใช้เวลาในการตรวจ วิเคราะห์ และอ่านผล เช่น การอัลตราซาวน์ การทำ CT Scan คนไข้ต้องรอใช้บริการตรวจเหล่านี้ ไม่ใช่เพียงเป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ แต่ต้องรอถึงเป็นเดือน เนื่องจากทรัพยากรดังกล่าวมีราคาสูง อีกทั้งต้องใช้บุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในการใช้งาน จึงจะสามารถใช้และวิเคราะห์ผลได้ โรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่งมีคนไข้ที่เข้าใช้ CT Scan จากหลากหลายแผนก จาก 3 ช่องทาง ได้แก่ แผนกผู้ป่วยนอก (OPD) แผนกผู้ป่วยใน (IPD) และแผนกฉุกเฉิน (ER) โดยทั้งผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยในจะสามารถแบ่งย่อยได้เป็นอีก 2 ประเภทย่อย ได้แก่ ผู้ป่วยเร่งด่วน (Emergent) และผู้ป่วยไม่เร่งด่วน (Non-Emergent)  ผู้ป่วยฉุกเฉินจากแผนกฉุกเฉิน และผู้ป่วยเร่งด่วนทั้งจากแผนกผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน จะได้รับบริการทันที ส่วนผู้ป่วยไม่เร่งด่วนจะถูกนัดเข้ารับบริการผ่านแผนก CT Scan ล่วงหน้า โดยมีจำนวนผู้เข้ารับบริการในแต่ละวันรวมแล้ววันละประมาณ 23-24 เคส แยกไปตามแผนกต่างๆ

แผนก CT Scan ของโรงพยาบาลมีการให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง โดยการตรวจในเวลาราชการ (8.00 – 16.00 น.) จะรับผู้ป่วยเข้าตรวจทั้งจากแผนกผู้ป่วยนอก แผนกผู้ป่วยใน และแผนกผู้ป่วยฉุกเฉิน ส่วนการตรวจนอกเวลาราชการนั้น จะรับตรวจเฉพาะผู้ป่วยจากแผนกฉุกเฉิน และผู้ป่วยเร่งด่วนจากแผนกผู้ป่วยในเท่านั้น

"CT Scan ถือเป็นทรัพยากรที่มีจำกัด ปัจจุบันที่โรงพยาบาลมีใช้งาน 1 เครื่องเท่านั้น ผู้ป่วยต้องรอคิวยาวนานเพื่อเข้ารับบริการ โดยเวลารอเข้ารับบริการ CT Scan เฉพาะผู้ป่วยนัดจากแผนกผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก"

จะเห็นว่า ผู้ป่วยในใช้เวลารอทำ CT Scan เฉลี่ยประมาณ 7 วัน ส่วนผู้ป่วยนอกจะต้องรอถึงเกือบหนึ่งเดือนกว่าจะได้เข้าทำ CT Scan ซึ่งเวลารอที่ยาวนานนี้เป็นปัญหาที่สำคัญของแผนก และนำไปสู่ผลกระทบอื่นๆ เช่น ผู้ป่วยนอกหลายรายมีอาการหนักขึ้นกว่าจะได้ทำ CT Scan ส่วนผู้ป่วยในเองก็ต้องนอนรอทำ CT Scan โดยยังไม่ได้รับการรักษา ทำให้ระยะเวลาครองเตียงที่หอผู้ป่วยก็เพิ่มสูงขึ้น และยังส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยอื่นๆที่ต้องการเข้าใช้เตียงแต่ไม่ได้เข้าใช้เพราะเตียงเต็ม กระทบเป็นลูกโซ่ไปทั้งวงจร

เราใช้แนวคิดการจัดการคลังสินค้า หรือ Inventory Management ประยุกต์เข้ากับการบริหารแถวคอยของผู้ป่วยคงค้างในระบบ นโยบายในการจัดการ โรงพยาบาลต้องการที่จะระบายผู้ป่วยคงค้างออกภายในครั้งเดียว จากนั้นจึงรักษาจำนวนคงค้างของผู้ป่วย ดังนั้น สามารถแบ่งช่วงได้เป็น 2 ช่วง คือ ช่วงลดจำนวนผู้ป่วยสะสมให้มีจำนวนที่พอเหมาะ (Phase clear) และช่วงควบคุมเพื่อไม่ให้ผู้ป่วยมีระยะเวลารอที่ยาวนานอีก (Phase control)

ตัวช่วยโรงพยาบาล

ในการระบายผู้ป่วยคงค้างในแถวคอย แน่นอนว่าจะต้องเพิ่มกำลังการให้บริการมากขึ้นชั่วขณะหนึ่ง และเมื่อเวลาผ่านไป ก็อาจต้องเพิ่มกำลังการให้บริการเป็นระยะๆ เพื่อรักษาเวลารอคอยไม่ให้นานจนกลับไปเป็นเหมือนเดิมอีกครั้ง ดังนั้นในการตัดสินใจเพิ่มกำลังการให้บริการ ย่อมต้องผ่านการคำนวณจำนวนผู้ป่วยคงค้าง ต้นทุนที่ต้องใช้ในการเพิ่มกำลังการให้บริการ ระยะเวลา ทรัพยากรที่ต้องใช้ และอีกหลายปัจจัย ดังนั้น เราจึงได้สร้างเครื่องมือช่วยคำนวณขึ้น เพื่อเป็นเครื่องมือช่วยตัดสินใจให้กับโรงพยาบาล โดยเครื่องมือช่วยคำนวณจะคำนวณตัวแปรทั้งในช่วงลดผู้ป่วยคงค้าง และช่วงควบคุมระดับผู้ป่วยคงค้าง

ช่วงลดผู้ป่วยคงค้าง

ในช่วงลดผู้ป่วยคงค้าง โรงพยาบาลจะต้องป้อนข้อมูลตัวแปรของผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอกให้กับเครื่องมือคำนวณ ได้แก่ ​

  • เวลารอที่คาดหวัง

  • จำนวนผู้ป่วยคงค้างเริ่มต้น

  • จำนวนวันที่ต้องการใช้ในการลดผู้ป่วยคงค้าง

เวลารอที่คาดหวัง หมายถึง ระยะเวลารอรับบริการที่โรงพยาบาลคาดหวังจะให้เป็น เช่น ผู้ป่วยในรอไม่เกิน 2 วัน ผู้ป่วยนอกรอไม่เกิน 7 วัน เป็นต้น โดยเวลารอที่คาดหวัง จะนำไปคำนวนหาระดับจำนวนผู้ป่วยคงค้างที่ควรมีอยู่ ซึ่งโรงพยาบาลจะต้องลดจำนวนผู้ป่วยคงค้างให้อยู่ในระดับดังกล่าว

จำนวนผู้ป่วยคงค้างเริ่มต้น หมายถึง จำนวนผู้ป่วยที่รอรับบริการอยู่ในแถวคอย สามารถคำนวณได้จาก ระยะเวลารอรับบริการปัจจุบัน คูณด้วยจำนวนเคสที่แผนก CT Scan ให้บริการในแต่ละวัน เช่น ปัจจุบัน โรงพยาบาลมีคิวเข้าตรวจ CT Scan ของผู้ป่วยนอกยาว 1 เดือน และมีอัตราการให้บริการเคสผู้ป่วยนอก วันละ 10 ราย ดังนั้น จำนวนผู้ป่วยคงค้างเริ่มต้น จะเท่ากับ 30 วัน คูณ 10 รายต่อวัน ซึ่งจะเท่ากับจำนวนผู้ป่วยคงค้างเริ่มต้น 300 คน เป็นต้น

 

จำนวนวันที่ต้องการใช้ในการลดผู้ป่วยคงค้าง หมายถึง โรงพยาบาลอยากเคลียร์จำนวนผู้ป่วยคงค้างให้หมดภายในกี่วัน เช่น โรงพยาบาลต้องการลดจำนวนผู้ป่วยในคงค้างให้หมดภายใน 10 วัน เป็นต้น

ช่วงควบคุมระดับผู้ป่วยคงค้าง

ช่วงควบคุมเป็นช่วงที่ต่อมาจากช่วงลดจำนวนผู้ป่วยคงค้าง มีวัตถุประสงค์ให้โรงพยาบาลสามารถคงจำนวนผู้ป่วยคงค้างในระบบให้ไม่มากเกินไป เพื่อไม่ให้เกิดผู้ป่วยสะสมและระยะเวลารอที่ยาวนานอีกครั้ง ดังนั้น จึงต้องมีนโยบายเพื่อคงจำนวนผู้ป่วยไม่ให้เกินจุดที่ยอมรับได้ โดยเมื่อผู้ป่วยคงค้างเริ่มสะสมขึ้นเรื่อยๆอีกครั้ง และใกล้จุดควบคุม โรงพยาบาลจะต้องเพิ่มอัตราการให้บริการอีกช่วงสั้นๆ 

 

โรงพยาบาลจะต้องทำการป้อนข้อมูลใส่ในเครื่องมือคำนวณเพิ่มเติม ได้แก่ นโยบายอัตรากำลังในช่วงควบคุม นโยบายอัตรากำลังในช่วงควบคุมนั้น แบ่งออกเป็น 2 แบบ ได้แก่

  1. กำลังการให้บริการ = อัตราการเข้ารับบริการเฉลี่ย

  2. กำลังการให้บริการ = อัตราการเข้ารับบริการเฉลี่ย + ความแปรปรวนข้อมูล

"จะเห็นได้ว่า การเพิ่มอัตราให้บริการวันละเล็กน้อยไปช่วงระยะเวลาหนึ่งเพื่อลดผู้ป่วยคงค้าง จะสามารถลดระยะเวลารอคอยของผู้ป่วยได้มาก โดยผ่านการคำนวณ และทดลองสถานการณ์ เพื่อให้เกิดความมั่นใจ และไม่ผิดพลาดในการดำเนินการ รวมถึงสามารถประมาณระยะเวลา ทรัพยากรที่ต้องใช้ ย่อมเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้ป่วย"

 

การได้รับการรักษาและวินิจฉัยอย่างรวดเร็วนั้นส่งผลดีอย่างยิ่งต่ออาการและความรุนแรงของผู้ป่วยซึ่งประเมินเป็นมูลค่าไม่ได้ นอก จากนี้ยังส่งผลดีต่อแผนกผู้ป่วยใน ซึ่งมีระยะเวลาครองเตียงที่ยาวนาน เมื่อสามารถลดระยะเวลาครองเตียงที่ไม่เกิดคุณค่าลงได้ ย่อมเป็นการเปิดโอกาสผู้ป่วยอื่นๆได้เข้ารับการรักษาตัวได้มากขึ้น รวดเร็วขึ้นอีกด้วย

bottom of page