top of page
DRUG INVENTORY

บริหารคลังยา

การควบคุมปริมาณยาที่เก็บในคลังยาของโรงพยาบาล ถือเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในการบริหารโรงพยาบาล เพราะ การควบคุมปริมาณยาให้เหมาะสม จะสามารถช่วยให้โรงพยาบาลมียาจ่ายให้กับผู้ป่วยได้เสมอ แต่ถ้าหากมีการเก็บยาในคลังมากเกินกว่าปริมาณที่ต้องการ จะมีข้อเสียตามมา ได้แก่ การสูญเสียค่าใช้จ่ายไปกับการซื้อยามาเก็บไว้ในคลัง พื้นที่ในคลังไม่เพียงพอสำหรับการเก็บยา เภสัชกรไม่สะดวกในการหายาจึงทำให้เสียเวลาเพิ่มขึ้น ยาที่เก็บไว้นานอาจหมดอายุ ทำให้ต้องนำยานั้นไปกำจัดทิ้ง ดังนั้นโจทย์ที่สำคัญของเรา คือ ควรจัดเก็บยาปริมาณเท่าไรเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย และปริมาณยาในคลังไม่มากเกินความจำเป็น

“แต่ถ้าหากมีการเก็บยาในคลังมากเกินกว่าปริมาณที่ต้องการ จะมีข้อเสียตามมา เช่น ต้นทุนสูง พื้นที่คลังไม่พอ ยาหมดอายุ เป็นต้น”

เราได้ทำการจัดกลุ่มของยาในโรงพยาบาลกรณีศึกษา เพื่อให้การบริหารยาเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น และจะทำให้ทราบถึงระดับความจำเป็นในการบริหารยาแต่ละกลุ่มอย่างใกล้ชิด โดยยาแต่ละกลุ่มจะมีค่าความเชื่อมั่นในการมียารองรับความต้องการแตกต่างกันไป เช่น ยากลุ่มที่จำเป็นจะต้องมียาอยู่ในคลังเสมอ จะมีค่าความเชื่อมั่นในการมียารองรับความต้องการที่สูงกว่ายากลุ่มอื่นๆ

“ยาแต่ละกลุ่มจะมีค่าความเชื่อมั่นในการมียารองรับความต้องการแตกต่างกันไป”

Role / 

Consulting

 

Agency / 

H Lab

 

Year / 

2010

สำหรับยาแต่ตัว จะทำการเก็บข้อมูลความต้องการในการใช้ยาย้อนหลัง และทำการคำนวณหาจำนวนยาตามหลักการของนโยบายสินค้าคงคลัง โดยจะมีการกำหนดจุดสั่ง คาบเวลาในการสั่ง และปริมาณการสั่งสำหรับยาแต่ละชนิด โดยสำหรับโรงพยาบาลกรณีศึกษาจะมีการกำหนดให้สั่งยาทุก 2 วัน ดังนั้นทุก 2 วันจะทำการตรวจสอบปริมาณยาในคลังซึ่งถ้าหากลดลงถึงจุดสั่งที่กำหนดจะทำการสั่งยาในจำนวนที่เท่ากับปริมาณสั่ง ซึ่งในโครงการนี้เราได้ทำการสร้างโปรแกรมอย่างง่ายขึ้นมา โดยให้ผู้ใช้ป้อนข้อมูลที่จำเป็น เช่น ปริมาณความต้องการยา ราคายา เข้าไป จากนั้นเมื่อสั่งให้โปรแกรมทำงาน ระบบจะแสดงจุดสั่ง และปริมาณสั่งที่เหมาะสมสำหรับยาตัวนั้นๆ

“เราได้สร้างโปรแกรมอย่างง่ายขึ้นมาโดยคำนวณจากหลักการนโยบายสินค้าคงคลัง นั่นคือการกำหนดจุดสั่ง

คาบเวลาในการสั่ง และปริมาณการสั่งยาแต่ละชนิด ถ้าลดลงถึงจุดสั่งที่กำหนดจะสั่งยาในจำนวนเท่ากับปริมาณสั่ง”

จากการทดลองผ่านแบบจำลองกับกลุ่มยาตัวอย่าง พบว่าให้ผลลัพธ์ในทางที่ดีขึ้น โดยยาแต่ละตัวมีอัตราการมียารองรับตามที่กำหนด และมีค่าใช้จ่ายในการเก็บยาคงคลังที่ต่ำลง โดยสรุปแล้วหากโรงพยาบาลดำเนินการตามนโยบายที่กำหนด โดยดำเนินการกับยากลุ่มที่ต้องติดตามอย่างใกล้ชิด 4 ตัว และยากลุ่มที่ต้องติดตามระดับกลาง 4 ตัว จะสามารถช่วยลดมูลค่ายาคงคลังให้กับโรงพยาบาลได้ประมาณ 450,000 บาทต่อปี

“ผลลัพธ์คือ  เราสามารถช่วยโรงพยาบาลลดมูลค่ายาคงคลังได้ประมาณ 450,000 บาทต่อปีจากยา 8 ตัว”

bottom of page