top of page
  • รูปภาพนักเขียนSupatcha Chavalvechakul

Accessibility Design x Hospital

การออกแบบการรักษาที่เข้าถึงกันระหว่างแพทย์ ผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์


ลองนึกภาพว่าคุณถนัดมือซ้าย คุณคือกลุ่มคนส่วนน้อย 10% บนโลกนี้ ในบางครั้งเวลาทำอะไรอาจใช้เวลามากกว่าคนถนัดขวา แต่เราก็มีเครื่องมือไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เครื่องเขียน หรืออุปกรณ์กีฬา สำหรับคนถนัดซ้ายโดยเฉพาะ  


ในทางกลับกัน หากคุณตาบอดสี มีความบกพร่องทางสายตา หรือเป็น clinically anxious หรือมีอาการลมบ้าหมู คุณจะถูกนับเป็นกลุ่มคนประมาณ 20 % บนโลกนี้ ซึ่งในความจริงแล้ว เรามักจะไม่ค่อยพบเครื่องมือช่วยเหลือสักเท่าไหร่ และยิ่งน้อยเข้าไปใหญ่บนโลกออนไลน์ 


ในมุมของการพัฒนา product นั้น จะดีกว่าไหม ถ้าเราออกแบบพัฒนา product เพื่อให้ทุกกลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงการใช้งานได้


Accessibility Design จึงเป็นคำตอบที่ตรงที่สุดสำหรับโจทย์นี้

 

Accessibility คืออะไร และสำคัญอย่างไร? 

Accessibility คือความสามารถในการเข้าถึง product หรือ services เพื่อให้ user สามารถทำในสิ่งที่ต้องการได้ การออกแบบโดยคำนึงถึง Accessibility จึงไม่เพียงแต่ช่วยให้คนกลุ่มน้อยเข้าใจและสามารถใช้งาน product ได้ แต่ยังครอบคลุมถึงการใช้งานของคนทุกรูปแบบ ดังนั้น Accessibility design จึงสำคัญสำหรับทุกคน นอกจากนี้ ถ้าเรามี Accessibility Design ที่ดี จะเป็นการช่วยเพิ่มจำนวน user ที่จะมาใช้งาน product ของเราเพิ่มขึ้น และการทำเพื่อ user ทุกคน ก็นับเป็นการออกแบบที่เป็น Universal Design อีกด้วย 

เช่นเดียวกับโรงพยาบาลซึ่งเป็นสถานที่ที่ให้บริการโดยตรงเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลแก่ประชาชน คงจะดีไม่น้อยหากระบบปฏิบัติการภายในโรงพยาบาล สามารถอำนวยความสะดวกให้การบริการและปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 

 

ซึ่งกลุ่มเป้าหมายสำคัญ 3 กลุ่ม ที่เราให้ความสำคัญในการออกแบบพัฒนาระบบต่างๆ ภายในโรงพยาบาล คือ 

  • ผู้ป่วย: ผู้มาเข้ารับบริการการรักษา  

  • บุคลากรทางการแพทย์: ผู้ให้บริการการรักษา เช่น แพทย์ พยาบาล 

  • ญาติผู้ป่วย: ผู้พาผู้ป่วยมาเข้ารับการรักษา และผู้ติดตามสถานะการรักษาของผู้ป่วย 

ยกตัวอย่างเช่น การออกแบบระบบเส้นทางการให้บริการผู้ป่วยที่มารักษายังห้องฉุกเฉินของ H LAB ที่รองรับการบริการรักษาตั้งแต่หน้าห้องฉุกเฉิน(เข้ารับการรักษา) ไปจนถึงหลังห้องฉุกเฉิน(อยู่ระหว่างการรักษา และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ 


1. ส่วนคัดกรองผู้ป่วยหน้าห้องฉุกเฉิน: การออกแบบระบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยที่เชื่อมกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ และผู้ป่วย โดยออกแบบให้ระบบสารสนเทศสอดคล้องไปกับการรักษาอย่างลื่นไหล บุคลากรทางการแพทย์สามารถใช้งานได้อย่างสะดวก และสอดคล้องกับแนวปฏิบัติทางการแพทย์  a. Tailor-made EMR - ระบบบันทึกข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินเฉพาะทาง 


2. ส่วนปฏิบัติการภายในห้องฉุกเฉิน: การออกแบบระบบปฏิบัติการผู้ป่วยภายในแผนกฉุกเฉิน ที่สามารถแสดงรายชื่อผู้ป่วยในความดูแล ลำดับความเสี่ยง ทีมการรักษา พร้อมทั้งผูกกับระบบแจ้งเตือนอัตโนมัติสำหรับหัตถการ เพื่อไม่ให้พลาดหัตถการทุกรอบที่สำคัญ  

b. Adverse Event Prediction - ระบบปัญญาประดิษฐ์แจ้งเตือนอาการไม่พึงประสงค์ของผู้ป่วย 


3. ส่วนปฏิบัติการหลังห้องฉุกเฉิน: ระบบวิเคราะห์และแสดงผลความสัมพันธ์ของเส้นทางและผลลัพธ์การรักษาของผู้ป่วยแต่ละประเภท เช่น การออกแบบระบบให้สามารถนำเสนอจุดคอขวดของกระบวนการ ซึ่งเป็นจุดที่ส่งผลให้ผลลัพธ์การรักษาของผู้ป่วยกลุ่มโรคหนึ่งแย่ลงอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้น แพทย์จึงสามารถเข้าแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุดทันที และยังสามารถวัดผลเฉพาะกลุ่ม เพื่อดูประสิทธิภาพของการแก้ปัญหาได้อีกด้วย   c. Patient Journey Analysis - ระบบวิเคราะห์เส้นทางการรักษาของผู้ป่วย 


ระบบที่ถูกยกตัวอย่างข้างต้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ CORTEX ER ผลิตภัณฑ์ cloud-based platform สำหรับงานเวชศาสตร์ห้องฉุกเฉินของ H LAB   หากต้องการทราบรายละเอียดระบบอื่นๆ เพิ่มเติม และวิธีการทำงานของแต่ละระบบ สามารถปรึกษาเราได้ที่: 

📞 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 

▪ Inbox: m.me/hlabconsulting   

▪ Email: info@hlabconsulting.com 

ที่มา

Lean Hospitals: Improving Quality, Patient Safety, and Employee Engagement.



bottom of page