top of page
รูปภาพนักเขียนSupatcha C.

8 wastes in healthcare

ความสูญเปล่า 8 ประการในระบบสุขภาพ

อ่านตามหัวข้อ

 

คำว่า Lean อาจไม่ใช่ buzzword ใหม่ แต่ได้ถูกนำมาใช้ในหลากหลายอุตสาหกรรมอย่างแพร่หลาย ตั้งแต่กระบวนการผลิตภายในโรงงาน รวมไปถึงระบบสุขภาพภายในโรงพยาบาล แต่สำหรับบุคลากรทางการแพทย์ท่านใดที่ยังไม่รู้จักคำว่า Lean วันนี้ H LAB จะมาแนะนำให้รู้จัก


ระบบลีน (Lean)

เป็นหลักการหนึ่งของเครื่องมือการบริหารจัดการของวิศวกรรมอุตสาหการ ที่มุ่งเน้นการปรับการบริหารจัดการองค์กรให้มีประสิทธิภาพ ผ่านการลดกระบวนการทำงานที่ไม่สร้างมูลค่า และเน้นการเพิ่มความสามารถในการปรับตัวเพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

ระบบลีน ให้ความสำคัญกับ การบริหารจัดการ 3 ประการ

  1. การกำหนดคุณค่า (Value) จากมุมมองของลูกค้าเป็นหลัก

  2. การกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากกระบวนการธุรกิจ

  3. การพัฒนากระบวนการทำงาน เป้าหมาย และบุคลากรอย่างต่อเนื่อง

เรามาเริ่มต้นที่การกำจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกจากกระบวนการ ในฐานะบุคลากรทางการแพทย์ที่ทำงานอยู่ทุกวัน อาจจะไม่ทันได้สังเกตว่าสิ่งที่ทำอยู่ ถูกจัดเป็นความสูญเปล่าตามระบบลีน สิ่งที่ไม่จำเป็น หรือ ความสูญเปล่านี้ สามารถแบ่งออกได้เป็น 8 ประการ ด้วยกัน



ที่มารูปภาพ Lean Consulting

ความสูญเปล่าที่ 1 : Defect จุดผิดพลาด หรือ ข้อบกพร่อง


คืออะไร ?

  • การทำงานผิดพลาด ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอน กระบวนการ ชิ้นงาน ที่ทำให้ต้องแก้ไขข้อผิดพลาดนั้นทีหลัง ก่อให้เกิดการทำงานที่มากขึ้นเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องที่ไม่ถูกต้องดังกล่าว

ตัวอย่างในโรงพยาบาล

  • บรรจุอุปกรณ์ในรถเข็นผ่าตัดไม่ครบถ้วน

  • การจ่ายยาไม่ถูกชนิด จ่ายยากผิดขนาดที่ไม่ตรงกับแนวทางการรักษาของคนไข้ให้ผู้ป่วย หรือจ่ายยาให้กับผู้ป่วยผิดราย

  • การเปลี่ยนแปลงตารางเวลาผ่าตัดโดยที่ไม่ได้แจ้งผู้ป่วยล่วงหน้า

  • การผ่าตัดผิดตำแหน่ง


ความสูญเปล่าที่ 2 : Overproduction กระบวนการผลิตที่มากเกินความจำเป็น

คืออะไร

  • กระบวนการผลิตที่อาจจัดว่า “ไม่ถูกที่ ไม่ถูกเวลา” หรือ ทำมากกว่าที่คนไข้ต้องการ หรือทำเร็วกว่าที่ควรจะเป็น ก็ถือว่า กระบวนการให้บริการสุขภาพที่ไม่จำเป็นต้องทำ

ตัวอย่างในโรงพยาบาล

  • ขั้นตอนการวินิจฉัยที่มากเกินกว่าความจำเป็น

  • การสั่งชุดทดสอบในห้องปฏิบัติการมากเกินกว่าความจำเป็น

  • การวินิจฉัยซ้ำซ้อนที่ไม่ได้ทำให้ได้ข้อมูลประกอบการรักษาที่มากขึ้น

  • การจัดให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย (การแพทย์ทางไกล การเข้ารับการรักษาในแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน หรือ การรักษาพยาบาลในวอร์ดปกติ)


ความสูญเปล่าที่ 3 :Transportation การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ ที่ไม่จำเป็น


คืออะไร

  • การเคลื่อนย้ายหรือ ขนส่งอุปกรณ์ที่ไม่จำเป็น ไม่ว่าจะเป็น ผู้ป่วย ตัวอย่างทดสอบ หรืออุปกรณ์ ของบริการสุขภาพ

ตัวอย่างในโรงพยาบาล

  • การจัดแผนผังภายในโรงพยาบาลที่ไม่ดี เช่น ห้องปฏิบัติการสายสวนที่อยู่ไกลจากแผนกเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

  • การย้ายเตียงพิเศษระหว่าง unit

  • การเคลื่อนย้ายอุปกรณ์ไปยังพื้นที่ดูแลผู้ป่วย

  • การขนส่ง chart ประวัติการรักษาคนไข้

  • การขอให้คนไข้ส่งแบบฟอร์มไปยังจุดแวะพักในกระบวนการที่ไม่ได้ก่อให้เกิดมูลค่าทางการรักษา


ความสูญเปล่าที่ 4 : Waiting การรอคอย


คืออะไร

  • การรอให้กิจกรรมต่อไปเกิดขึ้น

ตัวอย่างในโรงพยาบาล

  • บุคลากรทางการแพทย์รอคอยการจัดสรรปริมาณงาน

  • คนไข้รอคอยการจัดสรรเวลานัดหมายพบแพทย์

  • การรอคอยเพื่อให้ได้พบแพทย์ในห้องฉุกเฉิน

  • การรอเพื่อรับใบสั่งยา

  • การรอห้องผู้ป่วยในเพื่อเข้ารับการรักษาในสถานพยาบาล

  • การรอออกจากโรงพยาบาล ในวันที่ได้รับการ discharge


ความสูญเปล่าที่ 5 : Inventory สินค้าคงคลัง


คืออะไร

  • สินค้าคงคลังส่วนเกินที่นำไปสู่ต้นทุนทางการเงินที่สูญเสียไป ไม่ว่าจะเป็น ต้นทุนเพื่อใช้ในการจัดเก็บ เคลื่อนย้าย หรือถ้าสินค้าคงคลังนั้นไม่ได้ใช้ ก็จะเกิดการเน่าเสีย สูญเสียต้นทุนไปโดยเปล่าประโยชน์

ตัวอย่างในโรงพยาบาล

  • เวชภัณฑ์ที่ไม่ได้ใช้ หรือหมดอายุ และต้องถูกกำจัดทิ้ง

  • กระบวนการ Batched admissions or discharges ภายหลังจากที่เวรสิ้นสุดลง


ความสูญเปล่าที่ 6 : Motion การเคลื่อนไหวของบุคลากรที่ไม่จำเป็น


คืออะไร

  • การเคลื่อนไหวของบุคลากรทางการแพทย์ในกระบวนการให้บริการสุขภาพที่ไม่ได้ก่อให้เกิดมูลค่า

ตัวอย่างในโรงพยาบาล

  • บุคลากรทางการแพทย์ต้องใช้เวลาเดินไปที่ห้องปฏิบัติการนานเกินกว่าความจำเป็นเนื่องจากการออกแบบแผนผังโรงพยาบาลที่ไม่ดี

  • พยาบาลที่ต้องเดินจาก station ไปจัดการเอกสารที่แผนกเวชระเบียน

  • แม่บ้านที่ต้องเดินทางออกนอกพื้นที่ให้บริการสุขภาพเพื่อค้นหาสิ่งของที่หายไป


ความสูญเปล่าที่ 7 : Overprocessing ขั้นตอนที่มากเกินความจำเป็น


คืออะไร

  • ขั้นตอนกระบวนการทำงานที่ไม่ได้ก่อให้เกิดการสร้างมูลค่าเพิ่มกับการเข้ารับบริการของคนไข้

ตัวอย่างในโรงพยาบาล

  • ประทับตราวันที่และเวลาในเอกสาร แต่ไม่เคยได้ใช้ข้อมูลดังกล่าว

  • การรวบรวมข้อมูลที่ไม่จำเป็นจากผู้ป่วย

  • การรวบรวมข้อมูลชุดเดิมเกินกว่า 1 ครั้ง

  • การสั่งตรวจเลือด


ความสูญเปล่าที่ 8 : Human Potential


คืออะไร

  • การดึงศักยภาพ ทักษะ ความสามารถของบุคลากรออกมาใช้ ได้อย่างไม่เต็มที่

ตัวอย่างในโรงพยาบาล

  • มุ่งเน้นการทำงานจนลืมที่จะสร้างบรรยากาศการทำงานที่ดี ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ การรับฟังคนในทีม รวมไปถึงการวางแผนเส้นทางอาชีพที่ชัดเจนให้กับบุคลากรทางการแพทย์ทุกแผนก

  • บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องแบกรับภาระงานเกินกว่าความจำเป็น และลาออกจากงาน

  • พนักงานทำความสะอาดมีไม่เพียงพอ ทำให้เจ้าหน้าที่โรงพยาบาลต้องมาทำความสะอาดห้องแทน (ใช้ความสามารถและทักษะได้ไม่ตรงกับงาน)

เป็นอย่างไรบ้าง บุคลากรทางการแพทย์พอจะเห็นภาพความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในการให้บริการสุขภาพแล้วหรือยัง การเริ่มต้นมองให้เห็นถึงปัญหาหรือจุดบกพร่อง เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่จะทำให้สามารถปรับปรุงกระบวนการทำงานภายในโรงพยาบาลให้ดีขึ้นได้

ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ CORTEX ของ H LAB พวกเราไม่ได้มองแค่ในแง่ของการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยลดความผิดพลาดจากการทำงานของมนุษย์เท่านั้น แต่พวกเรายังสอดแทรกแนวคิดการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการด้วยหลักการคิดและเครื่องมือทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อให้การให้บริการสุขภาพเป็นแบบการมุ่งเน้นคุณค่า เพื่อส่งมอบบริการสุขภาพที่เป็นที่พึงพอใจของผู้เข้ารับการรักษา รวมไปถึงการอำนวยความสะดวกให้กับบุคลากรทางการแพทย์ผู้ทำงานหนักเพื่อทุกคนอีกด้วย ที่มา

Lean Hospitals: Improving Quality, Patient Safety, and Employee Engagement.



ดู 1,807 ครั้ง

Comments


bottom of page