ในช่วงสถานการณ์ที่โรงพยาบาลต้องรับมือกับการระบาดของโรคโควิด-19 นอกจากที่แพทย์ต้องเจอกับความซับซ้อนในการรักษาอาการของคนไข้แต่ละคนแล้ว ยังต้องรับมือกับอัตราการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นทุกวัน จนไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะมีคนไข้เพิ่มเข้ามาอีกแค่ไหน? และต้องเตรียมของไว้สำหรับการรักษาเท่าไร? รวมไปถึงของที่สำรองไว้จะหมดไปเมื่อไร?
แล้วเราจะรับมือปัญหาเหล่านี้ได้อย่างไรล่ะ?
ขอชวนทุกท่านเริ่มตั้งคำถามทีละคำถาม เช่น “พรุ่งนี้เราจะต้องรับคนไข้เพิ่มกี่คน?” เป็นคำถามที่ตอบยากคำถามหนึ่งเลยจริงไหมครับ เราจะไปรู้อนาคตได้อย่างไร? งั้นเรามาลองดูกันอีกคำถาม “ในการรักษาคนไข้ 1 คน ต้องใช้อะไรบ้าง?” อันนี้ดูเป็นคำถามที่พอตอบได้ขึ้นมาหน่อยไหมครับ? แต่เราต้องใช้อะไรในการรักษาบ้างล่ะ? เตียง? ยา? เครื่องช่วยหายใจ? เจ้าหน้าที่กี่คน? แล้วชุดป้องกันของเจ้าหน้าที่ล่ะ? ซึ่งคนไข้ทุกคนก็ไม่ได้ใช้เท่ากันอีก มันเริ่มดูไม่ง่ายแล้วสิทีนี้
เริ่มคำนวณจากข้อมูลที่มีในปัจจุบัน
งั้นเรามาลองค่อย ๆ แก้โจทย์กันไปทีละข้อ “พรุ่งนี้เราจะต้องรับคนไข้เพิ่มกี่คน?” โควิด-19 ก็เป็นโรคไข้หวัดชนิดหนึ่ง แต่มีการแพร่กระจายที่ง่ายกว่าไข้หวัดทั่วไป โดยเราสามารถหาจำนวนคนที่ติดเชื้อเพิ่มได้จากโมเดลจำลองการระบาดของโควิด-19 รูปแบบ SEIR ที่เป็นรูปแบบการระบาดของโรคติดเชื้อ
ส่วนอีกโจทย์หนึ่ง “ในการรักษาคนไข้ 1 คน ต้องใช้อะไรบ้าง?” เราสามารถแบ่งจำนวนคนไข้ที่มีระดับความรุนแรงแตกต่างกันตามข้อมูลสถิติการติดเชื้อได้ เช่น คนไข้ที่ไม่มีอาการ คนไข้ที่มีอาการ หรือคนไข้อาการรุนแรง
ซึ่งหากอ้างอิงจากคำแนะนำการดูแลคนไข้โควิด-19 ของทั้งสมาคมอุรเวชช์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และกระทรวงสาธารณสุข แต่ละกลุ่มอาการนั้นมีรูปแบบการรักษาที่แตกต่างกัน เราจึงสามารถประเมินจำนวนรายการของที่ต้องใช้ในการรักษาคนไข้แต่ละประเภทได้ เช่น คนไข้อาการรุนแรงนั้นต้องการเตียงในห้อง ICU 1 เตียง ต้องให้ยา Favipiravir วันละ 5 เม็ด เมื่อเรามีอัตราส่วนคนไข้ตามความรุนแรง พร้อมจำนวนคน ของ เครื่องที่ต้องใช้ เราก็จะสามารถประเมินจำนวนของที่ต้องใช้ในการรักษาคนไข้แต่ละคนได้
แนะนำโปรแกรมช่วยคำนวณทรัพยากรที่ต้องใช้ในแต่ละวัน
รูปที่ 2 ตัวอย่างการคำนวณรายการของที่ใช้จากโปรแกรม
และหากท่านใดพบปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น เราได้เตรียมคำแนะนำและของฝากเล็ก ๆ น้อย ๆ มาให้ เป็นโปรแกรมคำนวณทรัพยากรที่ต้องใช้ในแต่ละวัน โดยถอดมาจาก Guideline การรักษาพยาบาลคนไข้โควิด-19 ที่สามารถระบุจำนวนคนไข้ในการดูแลของท่าน เพื่อคาดการณ์จำนวนของที่ต้องใช้ในแต่ละวัน และเนื่องจากของแต่ละอย่าง มีระยะเวลาในการจัดหามาไม่เท่ากัน เช่น เครื่องช่วยหายใจ ต้องสั่งล่วงหน้า 2 สัปดาห์ ยาต้องแจ้งล่วงหน้า 1 สัปดาห์ ดังนั้นจึงจะทำให้ท่านสามารถวางแผนการจัดเตรียมทรัพยากรให้เพียงพอสำหรับการดูแลคนไข้ในอนาคตได้
ทางเราหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์และช่วยให้เราผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกันครับ :D
📞 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
· Tel: 086-811-4688
· Inbox: m.me/hlabconsulting
· Email: info@hlabconsulting.com
Comments