top of page
  • รูปภาพนักเขียนH LAB Team

ลดความวุ่นวายหน้าห้องฉุกเฉินด้วย Cortex ER



 

ด่านหน้าของโรงพยาบาล

ถ้าพูดถึงแผนกฉุกเฉิน เราจะนึกถึงภาพความแออัด วุ่นวาย คนไข้/ญาติก็สับสนว่าต้องทำอะไร รอนานแค่ไหน แพทย์/พยาบาลก็ทำงานอย่างหนัก เพราะต้องทำงานให้รวดเร็วแข่งกับเวลา ทุกวินาทีในห้องฉุกเฉินจึงหมายถึงชีวิตของคนไข้ ที่บุคลากรต้องคอยติดตามภาวะอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาอย่างไม่คาดฝัน ห้องฉุกเฉินจึงเป็นด่านหน้าที่สำคัญเมื่อพูดถึงโรงพยาบาล


หลายปีมานี้ HLAB ได้รับโอกาสจากหลายโรงพยาบาล ให้ร่วมพัฒนาระบบที่ช่วยเหลือการทำงานของแพทย์/พยาบาล ที่ทั้งวิกฤติและแข่งกับเวลา ให้เจ้าหน้าที่ทำงานได้ง่ายช่วยคนไข้ได้ทัน ในสถานการณ์ที่ทรัพยากรมีจำกัด และความกดดันรอบทิศทาง


บทความซีรีส์ HLAB-ER จึงถูกเขียนขึ้นเพื่อแชร์เรื่องราวที่ได้รับจากประสบการณ์ทำงานที่ผ่านมาในมุมของบริษัท Health Tech ที่อยากเป็นกำลังใจ กระบอกเสียง และ Solution ให้เจ้าหน้าที่ทุกคนในระบบงานฉุกเฉินปฏิบัติงานอย่างมีความสุขขึ้นค่ะ :)


 

Triage Decision Support


ด่านแรกสุดของ ER คือจุดคัดกรองความเร่งด่วน หรือ Triage เป็นจุดที่สำคัญอย่างมากและเป็นตัวกำหนดการทำงานที่เหลือในห้องฉุกเฉินเลยทีเดียว


Triage หรือจุดคัดกรองผู้ป่วย คือจุดที่ประเมินความรุนแรงของอาการ เพื่อจัดลำดับความเร่งด่วนในการรักษา โรงพยาบาลจะคำนึงถึงความรุนแรงของอาการผู้ป่วย ตาม guideline ของกระทรวงสาธารณสุขและจากประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ที่ทำการคัดกรอง โดยสรุปคือ ผู้ป่วยที่มีอาการหนักกว่า มีความเสี่ยงต่อชีวิตมากกว่า จะได้รับการรักษาก่อน ซึ่งการประเมินตรงนี้แหละ นำไปสู่ระยะเวลารอคอยพบแพทย์ของคนไข้ที่มีความเร่งด่วน (Triage Level) แตกต่างกัน


ดังนั้น หนึ่งในเรื่องที่ชาว ER หนักใจ และนำมาเล่าให้เราฟังคือ แนวทาง MOPH ED ที่ห้องฉุกเฉินในประเทศไทยใช้อยู่ในขณะนี้ แม้ว่าจะมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน แต่ยังมีบางจุดที่ต้องอาศัยประสบการณ์เข้าช่วย แน่นอนว่าหากเป็นเจ้าหน้าที่ ER มือเก๋า เรื่องเหล่านี้คงไม่เป็นปัญหา แต่หากมีน้องใหม่เข้ามา หรือช่วงขาดคน มีคนจากหน่วยงานอื่นมาหมุนเวียน ย่อมนำไปสู่ Over Triage คือการคัดกรองผิดพลาดว่าเป็นเคสฉุกเฉิน หรือแม้แต่ Under Triage ที่คัดกรองว่าเป็นเคสไม่ฉุกเฉิน แต่จริงๆ แล้วคือเคสที่ฉุกเฉิน ซึ่งจุดนี้แหละที่อาจะทำให้เกิดการสูญเสียชีวิตของผู้ป่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้การทำ Triage ก็จะส่งผลต่อทั้งคุณภาพการรักษา และระยะเวลารอคอยของคนไข้โดยรวม

เพื่อแก้ไขปัญหานี้ เราได้พัฒนาระบบ Cortex ER เพื่อแนะนำระดับความเร่งด่วน หรือ “Triage Decision Support“ ขึ้น เมื่อเจ้าหน้าที่บันทึกข้อมูลผู้ป่วย ทั้งอาการนำที่ซักถามผู้ป่วยหรือญาติมาได้ โรคประจำตัว และค่าสัญญาณชีพ ระบบจะประมวลผลผ่าน Algorithm ที่ set ไว้ และจะแนะนำระดับความรุนแรง (Triage Level) เพื่อเป็นข้อมูลให้พยาบาลตัดสินใจได้แม่นยำมากขึ้น ซึ่งในอนาคตระบบจะเรียนรู้และทำให้ Algorithm ฉลาดขึ้นจากข้อมูลที่มากขึ้นอีกด้วย


อย่างไรก็ตาม Final decision ที่จะเลือกระดับความรุนแรงของคนไข้ ยังเป็นของเจ้าหน้าที่อยู่ดี แต่การนำข้อมูลจากฐานข้อมูลมาประมวลผลและให้คำแนะนำ ย่อมช่วยให้เจ้าหน้าที่คัดกรอง Triage ทำงานได้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น


 

ER Mission Control Center


หลังจากจุดคัดกรอง Triage แล้ว ข้อมูลของผู้ป่วยจะถูกส่งเข้าไปแสดงผลที่ ER Whiteboard หรือ "ER Mission Control Center" ซึ่งเป็นหน้าจอหลักของโปรแกรม Cortex ER ของเราที่แพทย์/พยาบาลสามารถดูข้อมูลผู้ป่วยได้แทนแฟ้มประวัติหนาๆ ที่เราเคยเห็นกัน


โดยปกติแล้วพี่ๆ พยาบาลในตำแหน่ง incharge ซึ่งถือเป็นหัวหน้าของเวรนั้น มักใช้ประโยชน์จากหน้าจอรายชื่อผู้ป่วย เพื่อตรวจดูว่ามีผู้ป่วยรายใดอยู่ใน ER บ้าง เราจึงออกแบบระบบให้ล้อตามความต้องการใช้งาน โดยพัฒนา ER Mission Control Center ให้สามารถแสดงผลข้อมูลและสถานะของผู้ป่วยที่จำเป็นต้องดูในหน้าจอเดียว โดยไม่จำเป็นต้องเปิดหลายหน้า


นอกจากชื่อ นามสกุล อายุ เพศ และข้อมูลทั่วไปแล้ว ER Mission Control Center ยังแสดงผลระดับ Triage, ระยะเวลารอคอยต่างๆ, สถานะของผล Diagnosis, ผล Lab, ผล X-ray ที่สามารถแก้อีกเรื่องน่าปวดหัวของ incharge หรือหัวหน้าทีมใน ER ที่ต้องคอยตามหาว่าผู้ป่วยรายนี้หมอตรวจแล้วหรือไม่ รออะไรอยู่บ้าง


นอกจากนี้ยังมีระบบ “Adverse Event Warning” ที่ช่วยประเมินความเสี่ยงของคนไข้จากค่า V/S โดยใช้ Algorithm ของ MEWS (Modified Early Warning Score) ในการคำนวณค่าความเสี่ยงผ่านเครื่อง V/S Monitor แบบ real-time คือ เมื่อคนไข้มีอาการทรุดลงเกินเกณฑ์ที่กำหนด ระบบจะ alert และแจ้งเตือนเป็น Adverse Event Warning ให้หมอ/พยาบาล มารักษาผู้ป่วยได้ทันท่วงที


ระบบ Cortex ER มีส่วนช่วยแพทย์ทำการตรวจ-สั่งการรักษาของแพทย์ (Computerize Physician Order Entering) และ การส่งต่อออเดอร์ให้พยาบาลด้วย (ซึ่งจะพูดถึงต่อไปใน ep. หน้า)


ดังนั้นเพียงมองที่ ER Mission Control Center รอบเดียว incharge ก็ทราบได้ว่าขณะนี้เหลือผู้ป่วยสีอะไร สถานการณ์รักษาเป็นอย่างไร รอออะไรอยู่ มีความเสี่ยงอะไรที่ต้องระวัง


 

โดยรวมแล้ว Cortex ER จึงตอบโจทย์สำคัญ ตั้งแต่ประตูบ้านอย่าง Triage ไปจนถึงภายในบ้านอย่างการบริหารและดูแลผู้ป่วยทั้งหมดภายใน ER โดยหวังว่าเจ้าหน้าที่จะสามารถทำงานได้ง่ายขึ้น มีประสิทธิภาพมากขึ้น และสบายใจขึ้นนั่นเอง


(แถมหน้าจอยังออกแบบมาน่ารักใช้งานง่ายถนอมสายตาอีกด้วยนะ!!😁)


 


ดู 1,526 ครั้ง

Comments


bottom of page