จากคราวที่แล้ว เราได้พูดถึงความยากในการจัดตารางเวร ที่ต้องจัดให้ตอบโจทย์ทั้งโรงพยาบาลและบุคลากร ซึ่งโดยมากมักจะทำให้การจัดตารางเวรนั้นยากและซับซ้อนขึ้นไปอีกในโพสต์นี้ https://www.facebook.com/hlabconsulting/posts/3949796908438324
.
🏥โจทย์ของโรงพยาบาล
.
เป้าหมายคือ การจัดอัตรากำลังและชั่วโมงการทำงานให้เพียงพอที่สุด แต่ยังทำเป็นไปตามเงื่อนไขของโรงพยาบาล ยกตัวอย่างเช่น
.
📍 ในแต่ละเวร แต่ละแผนกจะต้องมีบุคลากรขั้นต่ำ ของแต่ละตำแหน่งความเชี่ยวชาญ ตามนโยบายอัตรากำลังของโรงพยาบาล และต้องเพียงพอกับปริมาณผู้ป่วยในแต่ละช่วง
📍 จำนวนชั่วโมงการทำงานไม่เกินกว่ากฎหมายแรงงานกำหนด
📍 การจัดสรรเวร ต้องกระจายอย่างเท่าเทียมเป็นพื้นฐาน
📍 การจัดสรรช่วงเวลาทำงาน เช้า บ่าย ดึก ต้องคำนึงถึงสุขภาพของบุคลากรด้วย
.
ทั้งหมดต้องวางแผนบนบุคลากรที่มีอย่างจำกัด
.
👩🏻 โจทย์ของบุคลากร
.
📍 มีความต้องการในการทำงาน (Work preference) ที่แตกต่างกัน เช่น บางคนชอบอยู่เวรเช้า บางคนชอบอยู่เวรดึก
📍 ต้องการอิสระในการจัดสรรวันหยุด วันทำงานของตนเองได้ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการลดอัตราการ Burn-out หรือ อัตราการลาออกของบุคลกรได้
.
⚠ คนจัดเวรที่ต้องพิจารณาคำขอเป็นร้อย ๆ คำขอในแต่ละตาราง ทำให้ต้องใช้เวลาเป็นจำนวนมาก ด้วยอัตรากำลังที่กำหนดไว้ ทำให้คำขออาจจะต้องถูกปฏิเสธไปบ้าง เพราะจำนวนบุคลากรอาจจะไม่เพียงพอในเวรนั้น ๆ ส่งผลให้บุคลากรไม่พึงพอใจ และต้องไปแลกเวรอีกทีในภายหลัง
.
⚠ ในทางกลับกันถ้าคนจัดเวรพยายามอนุมัติคำขอทั้งหมด สิ่งที่จะเกิดขึ้นตามมาก็คือบุคลากรที่ปฏิบัติงานในวันที่อัตรากำลังขาดอาจจะต้องควบเวรเป็นจำนวนมาก และจากสถิติที่เคยพบ มีเวรจำนวน 20% ที่มีบุคลากรไม่เพียงพอต่อปริมาณผู้ป่วย ทำให้ระยะเวลารอสูงขึ้น เกิดความแออัดในแผนก
.
ในคราวหน้า เราจะพาไปดูผลลัพธ์ของการจัดตารางเวรแบบใหม่ ที่ H Lab ใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วย รวมถึงแชร์วิธีการ แนวคิดในการพัฒนาระบบจัดตารางเวร โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ
.
🔍 รู้จัก H LAB เพิ่มเติม
▪ Facebook: https://www.facebook.com/hlabconsulting
▪ Website: https://www.hlabconsulting.com/
.
📞 สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
▪ Inbox: m.me/hlabconsulting
▪ Email: info@hlabconsulting.com
.
Comentários