.
“การใช้ AI และ OR เข้ามาช่วยจัดการตารางเวรที่ซับซ้อน”
.
จากคราวที่แล้วที่เราขยายให้เห็นภาพว่า
📅ฝั่งคนจัดตารางเวร: ต้องจัดตารางเวรให้เป็นไปตามเงื่อนไขใดของโรงพยาบาลบ้าง และ
👩🏻 ฝั่งบุคลากร: ที่ต่างมีความต้องการในการทำงานที่แตกต่างกัน และต้องการอิสระในการจัดสรรวันหยุด
https://www.facebook.com/hlabconsulting/posts/3971238386294176
.
📍 วันนี้เราจะมาแชร์ในหัวข้อ “AI” และ “OR” ว่าทั้งสองสิ่งนี้ช่วยทำให้สามารถจัดตารางเวรตามเงื่อนไขที่ซับซ้อนได้ รวมถึงจัดอัตรากำลังได้เหมาะสมได้อย่างไร ?
.
เรามาเริ่มต้นจากคำว่า AI และ OR กันก่อนค่ะ
.
⚙ AI (Artificial Intelligent) คือ ปัญญาประดิษฐ์ เป็นระบบประมวลผลที่มีต้นแบบมาจากโครงข่ายประสาทของมนุษย์ ที่สามารถเพิ่มความฉลาดได้ตามข้อมูลที่ถูกป้อนผ่านการเรียนรู้ โดยนำมาช่วยมนุษย์ทำงานได้ในหลายรูปแบบ เช่น ใช้ในการคำนวณ หรือใช้ในการพยากรณ์ต่าง ๆ
📊 ส่วน OR ย่อมาจาก Operation Research หรือศาสตร์การวิจัยดำเนินงาน เป็นการใช้โมเดลคณิตศาสตร์ เข้ามาแก้โจทย์ปัญหาที่ซับซ้อน มีเป้าหมายเพื่อให้ได้คำตอบที่มีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่สุด ซึ่ง OR นี้เป็นหนึ่งในเครื่องมือของสาย IE และ Health Systems Engineering เลยค่ะ
.
📅 ย้อนกลับมาที่วิธีคิดของการจัดตารางเวร
จริงๆแล้วการจัดตารางเวรที่ดี นอกเหนือจากจัดได้ตามเงื่อนไขของโรงพยาบาล และความต้องการของบุคลากรแล้ว ยังมีแนวทางแบบไหนที่จะทำให้ดีขึ้นได้อีกบ้าง?
.
💡 จะดีกว่าไหม “ถ้าจัดตารางเวรแล้ว(Scheduling) เรายังได้อัตรากำลัง (Staffing) ที่เหมาะสมกับภาระงาน” พยาบาลไม่ต้องทำงานหนักเกินไป ในขณะเดียวกัน คนไข้ก็ไม่ต้องรอนาน และได้รับการดูแลที่ทั่วถึงกว่าอีกด้วย
.
⚙ เริ่มต้นด้วย AI ที่เข้ามามีบทบาทในการพยากรณ์จำนวนคนไข้ที่กำลังเข้ามาในอนาคต รวมถึงความรุนแรงของโรค ที่ส่งผลต่อภาระงานในแต่ละเวร ในแต่ละวันของพยาบาล
.
⚙ หลังจากนั้น AI สามารถนำข้อมูลเก่า เช่น ผลลัพธ์ระยะเวลารอคอยของผู้ป่วย เทียบกับจากการจัดเวรที่ผ่านมาเป็นอย่างไร เพื่อให้สามารถนำเสนออัตรากำลังที่เหมาะสม (Staffing) ที่จะทำให้ระยะเวลารอคอยผู้ป่วยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีได้ด้วย เรียกว่า “เราสามารถปรับอัตรากำลังให้ Dynamic ขยับไปตามภาระงานได้นั่นเอง”
.
📊 สุดท้าย หลังจากได้อัตรากำลังที่คำนวณแล้ว AI จะส่งไม้ต่อไปยังโมเดลของ OR เพื่อทำการจัดตารางเวร โดย OR จะใช้โมเดลคณิตศาสตร์จัดตารางตามเป้าหมายที่เราเลือก เช่น เป้าหมายจัดตารางให้เท่าเทียม โดยยังต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของโรงพยาบาลและความต้องการของบุคลากร
.
✔ และความเจ๋งของขั้นตอนทั้งหมดก็คือ เมื่อข้อมูลทั้งหมดถูกบันทึกในระบบ AI จะสามารถนำผลลัพธ์ของการจัดเวร x ปริมาณผู้ป่วย มาเรียนรู้ เพื่อพยากรณ์และจัดอัตรากำลังได้มีประสิทธิภาพขึ้นได้เรื่อยๆ นั่นเอง
.
💡 ครั้งหน้า เราจะพาระบบจัดตารางเวรที่ใช้เทคนิคด้านบน มาแนะนำตัวให้ทุกท่านรู้จัก อย่าลืมติดตามกันนะคะ
.
🔍 รู้จัก H LAB เพิ่มเติม
🔹 Facebook: @hlabconsulting
🔹 Website: hlabconsulting.com
.
🙋🏻♀️ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
📲 m.me/hlabconsulting
📧 info@hlabconsulting.com
.
Comments